Screen Printing or Digital Printing?
เคล็ดลับเลือกพิมพ์ลายเสื้อแบบไหน? ถึงจะใช่กับงาน
เลือกพิมพ์ลายเสื้อวิธีไหนดี?
ซิลค์สกรีน หรือ พิมพ์ดิจิตอล?
งานแบบนี้ควรสกรีนแบบไหนถึงจะออกมาสวย?
สำหรับนักออกแบบที่สนใจงานพิมพ์สกรีน หรือ เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ ที่มุ่งมั่นสร้างแบรนด์เสื้อยืดสกรีนลายของตัวเอง ให้โดดเด่น โดนใจลูกค้า ถือได้ว่าข้อสงสัยที่ยกมาข้างต้น เป็นเรื่องสำคัญ ที่หลายคนให้ความใส่ใจ ก่อนจะเริ่มสั่งผลิตงานทุกครั้ง ซึ่งในปัจจุบันงานพิมพ์ทั้งสองระบบ ต่างก็ได้รับความนิยมในการทำทั้งสองแบบ และแต่ละแบบก็ต่างมีข้อดีและแตกต่างกันตามแต่ประเภทของงาน เป็นเหตุให้หลายคนค่อนข้างลังเล และสองจิตสองใจว่าควรเลือกกระบวนการไหนถึงจะเข้าท่า และคุ้มค่าแก่การตัดสินใจที่สุด
วันนี้เราจึงถือโอกาสแนะนำเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆจากประสบการณ์การเป็นแหล่งผลิตและรับสกรีนเสื้อให้กับลูกค้าหลากหลาย ในการเลือกระบบการพิมพ์ให้เหมาะกับความต้องการ เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจว่าแบบไหนที่เหมาะกับงานออกแบบชิ้นใหม่ๆ หรือเสื้อยืดลายล่าสุด ของแบรนด์สุดรักของคุณเอง
การพิมพ์สกรีนเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมาในปัจจุบันนี้จากการพัฒนาและต่อยอดความรู้ข้ามไปมาระหว่างตะวันออกและตะวันตก หากสืบหาที่มาไปเรื่อยๆ นับพันปี มนุษย์เริ่มรู้จักการพิมพ์อย่างง่ายๆ จากการเจาะลวดลายผ่านใบไม้ หรือหนังสัตว์ วัสดุธรรมชาติต่างๆ แล้วพิมพ์ลงบนพื้นผิววัสดุตามที่หาได้ ก่อนจะพัฒนาเป็นการพิมพ์ลายฉลุ ในประเทศจีน สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279) และพัฒนาต่อมาโดยชาวญี่ปุ่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยการนำเส้นผมของคน มาถักเป็นตะแกรง ก่อนจะพ่นหรือปาดหมีกลงไปบนแม่พิมพ์ จนในปี ค.ศ. 1907 จากการใช้ตะแกรงเส้นผม ก็ได้รับการพัฒนาดัดแปลงต่อโดยใช้เส้นใยไหม โดยชาวอังกฤษ ชื่อ ซามูเอล ไซมอน (Samuel Simon Matthew Atere-Roberts) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ ละเอียด เหนียวและทนต่อแรงดึงได้ดีกว่าเส้นผมมาทอเป็นตะแกรง ซึ่งเรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ ก็คือ Silkscreen นั่นเอง
งานพิมพ์ซิลค์สกรีน
(Screen Printing/Silkscreen printing)
กระบวนการนี้ก็ได้รับการพัฒนาให้สะดวกและง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมากแล้ว โดยเริ่มต้นที่การออกแบบลายที่ต้องการก่อน แล้วนำลายที่ออกแบบไปยิงฟิล์ม และนำมาอัดบล็อคสกรีน (ซึ่งก็คือกรอบไม้ที่ขึงด้วยผ้าสกรีนที่ทอด้วยไหม แยกเป็นเบอร์ต่างๆ แล้วแต่ความต้องการความละเอียดในการใช้งาน) เพื่อใช้ในการพิมพ์สกรีนลงบนเสื้อ หรือวัสดุผ้าอื่นๆ ต่อไป เตรียมสีที่ต้องการ และพิมพ์สกรีนด้วยการปาดสีหมึกลงในบล็อกที่วางประกบบนพื้นผิวที่ต้องการ เป็นอันเรียบร้อยกระบวนการ
ข้อดีของการพิมพ์ซิลค์สกรีน
1. จำนวนออร์เดอร์ยิ่งมาก ราคาสกรีนยิ่งถูกลง
2. คุณภาพงานสูง
3. งานที่ได้มีความเป็นมืออาชีพ งานเนี้ยบ
4. ซักแล้วสีไม่ซีด ติดทนนาน
5. สามารถพิมพ์สกรีนขนาดใหญ่ได้
6. สามารถพิมพ์สกรีนได้เฉพาะส่วน เหมาะสำหรับงาน เสื้อยืด เสื้อผ้าเด็ก
7. เหมาะสำหรับการสั่งออร์เดอร์พิมพ์จำนวนมากๆ
ข้อควรรู้ในการพิมพ์ซิลค์สกรีน
1. มีขั้นตอนก่อนการพิมพ์ที่ต้องทำเป็นสเตป
(ออกแบบลาย แยกสี ยิงฟิล์ม อัดบล็อกสกรีน )
2. บางแห่งในการรับสกรีนเสื้ออาจมีกำหนดขั้นต่ำ ค่าใช้จ่ายก่อนพิมพ์ ค่าเปิดบล็อคสกรีน เป็นต้น
3. เนื่องจากเป็นงานพิมพ์มือ อาจพบปัญหาลายพิมพ์เคลื่อน ไม่ชัดเนื่องจากบล็อคกสรีน
เคลื่อนระหว่างพิมพ์ ซึ่งปัญหาจะเกิดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของ
ช่างสกรีน
4. หากต้องการพิมพ์สกรีนภาพที่มีความละเอียด เช่น ภาพถ่าย กระบวนการจะซับซ้อน
มากขึ้น เพราะต้องปรับเทคนิคการซิลค์สกรีนเป็นแบบระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท
(offset)
งานพิมพ์ดิจิตอล
(Digital Printing or Direct to Garment Printing)
เป็นระบบการพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์จำนวนน้อย สะดวกสบายในการพิมพ์ ด้วยขั้นตอนที่คล้ายกับการสั่งพิมพ์เอกสารออกจากเครื่องปรินท์ โดยเปลี่ยนจากแผ่นกระดาษเป็นเสื้อยืดแทน
ข้อดีของการพิมพ์ดิจิตอล
1. เหมาะกับงานพิมพ์จำนวนไม่มาก
2. เพียงตัวเดียวก็สามารถสั่งพิมพ์ได้
3. สามารถพิมพ์ลายที่มีความละเอียดอย่างภาพถ่ายได้
4. มักไม่เกิดปัญหาจากการพิมพ์แล้วลายเคลื่อน
5. ปรับแต่งแก้ไขได้ง่ายก่อนพิมพ์
6. กระบวนการพิมพ์ไม่เลอะเทอะ
7. คุณภาพงานขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องปรินท์
ข้อควรรู้ในการพิมพ์ดิจิตอล
1. เหมาะกับเสื้อสีขาวหรือสีอ่อน
2. ค่อนข้างใช้เวลาในการพิมพ์แต่ละครั้ง
3. หมึกพิมพ์ราคาค่อนข้างสูง
4. ไม่เหมาะกับการสั่งพิมพ์ออร์เดอร์จำนวนมาก
5. ไม่สามารถพิมพ์สีพิเศษที่นอกเหนือจากสีในการพิมพ์ CMYK
เช่น สีเงิน สีทอง สีสะท้อนแสง แบล็คไลท์ และเรืองแสง เป็นต้น
6. ขนาดลายถูกจำกัดตามขนาดเครื่องปรินท์
7. พิมพ์ได้แต่บนวัสดุประเภทผ้าเท่านั้น
ทั้งหมดคือเคล็ดลับและข้อควรรู้ที่เรานำมาฝาก หวังว่าทั้งหมดจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่สนใจงานสกรีนนะคะ เพราะงานสวยๆ ใครเห็นก็อยากได้ แฮปปี้ทั้งคนทำ และคนใส่ค่ะ 🙂
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับงานสกรีน โทร: 062 518 8903
เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ amusesilkscreen.com
Facebook Fanpage : www.facebook.com/AmuseSilkscreenPrinting
Line ID: @amusesilkscreen
หรืออีเมลสอบถามราคาและรายละเอียดเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากหน้าเว็บไซต์ที่
Email : [email protected] ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
Related